BHA (Beta hydroxy acids) คืออะไร?

BHA คืออะไร

 


BHA มาจากคำว่า Beta Hydroxy Acid ซึ่งเป็นชื่อของสารเคมีกลุ่มเบต้าไฮดรอกซี่ มีฤทธิ์เป็นกรดอ่อน ๆ มีคุณสมบัติคล้ายกับสารในกลุ่มกรดผลไม้ (หรือ AHA) คือช่วยในการผลัดเซลล์ผิวชั้นนอกสุด, ปรับสีผิวให้สม่ำเสมอ, ลดการอักเสบของผิว, กระตุ้นการสร้างคอลลาเจนในชั้นหนังแท้, มีผลให้ปริมาณกรดไฮยาลูโรนิก (hyaluronic acid) ใช้ชั้นหนังแท้เพิ่มขึ้น, และช่วยให้รูขุมขนและริ้วรอยบนใบหน้ามีขนาดเล็กลง BHA มีความแตกต่างจาก AHA ตรงที่ละลายได้ดีในน้ำมัน จึงสามารถละลายเซลล์ที่ตายแล้ว รวมทั้งซีบัม (sebum) ที่อุดตันรูขุมขนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

 

 

 

 

BHA เหมาะกับผู้ที่...


1.  มีสภาพผิวผสมจนถึงผิวมัน
2. มีปัญหาสิว ทั้งสิวอักเสบและสิวอุดตัน
3. มีจุดด่างดำ หรือฝ้า
4. มีปัญหาผิวจากการถูกแสงแดดทำร้าย ผิวหยาบกร้าน และมีริ้วรอย
5. มีปัญหาผื่นผิวหนังอักเสบเรื้อรังชนิดโรซาเซีย ซึ่งผิวหนังมีความหนาและมีตุ่มแดง

 

เทคนิคการใช้ BHA อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสูงสุด


1. ทดสอบการแพ้และระคายเคืองก่อนการใช้จริง โดยทาผลิตภัณฑ์จำนวนเล็กน้อยที่ข้อพับ, ใต้ท้องแขน, หรือหลังใบหู ทิ้งไว้อย่างน้อย 24-48 ชั่วโมง จากนั้นสังเกตการเปลี่ยนแปลงของผิวว่ามีรอยแดง ผื่นคัน หรือรู้สึกแสบหรือไม่

2. แม้ผลิตภัณฑ์ผสม BHA มักจะมีความเข้มข้นที่เหมาะสมกับการใช้เป็นประจำทุกวัน แต่สำหรับผู้ที่เพิ่งเริ่มใช้ควรเว้นระยะห่าง โดยใช้ประมาณ 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ก่อนแล้วจึงค่อยเพิ่มความถี่ขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการระคายเคืองที่อาจเกิดขึ้น


3. BHA เช่น กรดซาลิไซลิก (salicylic acid) ไม่มีผลข้างเคียงที่ทำให้ผิวหนังไวต่อแสงแดด อย่างไรก็ตามยังควรใช้ครีมกันแดดทุกเช้าเพื่อป้องป้องผิวไม่ให้ถูกแสงแดดทำร้าย และชะลอการเสื่อมสภาพของผิว

 


4. ไม่ควรใช้พร้อมกับสารกลุ่มเรตินอล (retinol หรือ retinoids) เนื่องจากมีคุณสมบัติในการผลัดเซลล์ผิวเหมือน การใช้สารเร่งการผลัดเซลล์ผิวที่มากเกินไปอาจทำให้ผิวการระคายเคืองและเกิดอาการแพ้ได้ นอกจากนั้นการใช้ร่วมกันอาจไปลดประสิทธิภาพการทำงานของสารทั้งสองกลุ่มได้ เนื่องจากทั้งสองกลุ่มทำงานได้ดีที่สภาพความเป็นกรด-ด่างต่างกัน

 

BHA ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง


กรดซาลิไซลิก เป็น BHA ที่นิยมใช้ในผลิตภัณฑ์ดูแลผิวมากที่สุด ในธรรมชาติพบเป็นฮอร์โมนพืช มีหน้าที่เกี่ยวกับการต้านทานโรคของพืช กรดซาลิไซลิกและสารประกอบที่มีโครงสร้างใกล้เคียง เช่น สารซาลิซิน (salicin) และแอสไพริน (aspirin หรือ acetylsalicylic acid) มีฤทธิ์ต้านอักเสบได้ดี โดยเมื่อกว่า 1000 ปีก่อน ได้มีการสกัดสารซาลิซินจากเปลือกต้นหลิว (Salix alba) มาใช้บรรเทาอาการปวดและอักเสบ อย่างไรก็ตามเนื่องจากปริมาณของกรดซาลิไซลิกในพืชมีน้อยไม่คุ้มค่าต่อลงทุนรสกัด กรดซาลิไซลิกที่ใช้ด้านเวชสำอางจึงได้มาจากกระบวนการสังเคราะห์ทางเคมี


กรดซาลิไซลิกมีคุณสมบัติเด่น คือ การมีฤทธิ์ต้านการเจริญของจุลชีพ, ย่อยสลายเคราติน, และต้านการอักเสบ ผลิตภัณฑ์ที่มีซาลิไซลิกจึงเหมาะสำหรับดูแลผิวที่มีปัญหาสิวอุดตัน, ผิวอักเสบ, และเสื่อมสภาพของผิว โดยผลิตภัณฑ์สำหรับผิวหน้าที่วางขายทั่วไปมักมีความเข้มข้นของกรดซาลิไซลิกไม่เกิน 2-3% เนื่องจากการใช้กรดซาลิไซลิกที่ความเข้มข้นสูงมากเกินไปอาจทำให้ผิวไหม้ได้ นอกจากนั้นกรดซาลิไซลิกยังมีประสิทธิภาพในการกำจัดรังแค จึงนิยมใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมและหนังศีรษะเช่นกัน โดยมักมีความเข้มข้นในช่วง 3-12%

 

ที่มา:
Arif, T. (2015). Salicylic acid as a peeling agent: a comprehensive review. Clinical, cosmetic and investigational dermatology, 8, 455.

 

เพิ่มเพื่อน

BHA คืออะไร

BHA มาจากคำว่า Beta Hydroxy Acid ซึ่งเป็นชื่อของสารเคมีกลุ่มเบต้าไฮดรอกซี่ มีฤทธิ์เป็นกรดอ่อน ๆ มีคุณสมบัติคล้ายกับสารในกลุ่มกรดผลไม้ (หรือ AHA) คือช่วยในการผลัดเซลล์ผิวชั้นนอกสุด, ปรับสีผิวให้สม่ำเสมอ, ลดการอักเสบของผิว, กระตุ้นการสร้างคอลลาเจนในชั้นหนังแท้, มีผลให้ปริมาณกรดไฮยาลูโรนิก (hyaluronic acid) ใช้ชั้นหนังแท้เพิ่มขึ้น, และช่วยให้รูขุมขนและริ้วรอยบนใบหน้ามีขนาดเล็กลง BHA มีความแตกต่างจาก AHA ตรงที่ละลายได้ดีในน้ำมัน จึงสามารถละลายเซลล์ที่ตายแล้ว รวมทั้งซีบัม (sebum) ที่อุดตันรูขุมขนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

BHA เหมาะกับผู้ที่...• มีสภาพผิวผสมจนถึงผิวมัน• มีปัญหาสิว ทั้งสิวอักเสบและสิวอุดตัน• มีจุดด่างดำ หรือฝ้า• มีปัญหาผิวจากการถูกแสงแดดทำร้าย ผิวหยาบกร้าน และมีริ้วรอย• มีปัญหาผื่นผิวหนังอักเสบเรื้อรังชนิดโรซาเซีย ซึ่งผิวหนังมีความหนาและมีตุ่มแดง

เทคนิคการใช้ BHA อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสูงสุด• ทดสอบการแพ้และระคายเคืองก่อนการใช้จริง โดยทาผลิตภัณฑ์จำนวนเล็กน้อยที่ข้อพับ, ใต้ท้องแขน, หรือหลังใบหู ทิ้งไว้อย่างน้อย 24-48 ชั่วโมง จากนั้นสังเกตการเปลี่ยนแปลงของผิวว่ามีรอยแดง ผื่นคัน หรือรู้สึกแสบหรือไม่

• แม้ผลิตภัณฑ์ผสม BHA มักจะมีความเข้มข้นที่เหมาะสมกับการใช้เป็นประจำทุกวัน แต่สำหรับผู้ที่เพิ่งเริ่มใช้ควรเว้นระยะห่าง โดยใช้ประมาณ 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ก่อนแล้วจึงค่อยเพิ่มความถี่ขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการระคายเคืองที่อาจเกิดขึ้น

• BHA เช่น กรดซาลิไซลิก (salicylic acid) ไม่มีผลข้างเคียงที่ทำให้ผิวหนังไวต่อแสงแดด อย่างไรก็ตามยังควรใช้ครีมกันแดดทุกเช้าเพื่อป้องป้องผิวไม่ให้ถูกแสงแดดทำร้าย และชะลอการเสื่อมสภาพของผิว

• ไม่ควรใช้พร้อมกับสารกลุ่มเรตินอล (retinol หรือ retinoids) เนื่องจากมีคุณสมบัติในการผลัดเซลล์ผิวเหมือน การใช้สารเร่งการผลัดเซลล์ผิวที่มากเกินไปอาจทำให้ผิวการระคายเคืองและเกิดอาการแพ้ได้ นอกจากนั้นการใช้ร่วมกันอาจไปลดประสิทธิภาพการทำงานของสารทั้งสองกลุ่มได้ เนื่องจากทั้งสองกลุ่มทำงานได้ดีที่สภาพความเป็นกรด-ด่างต่างกัน

BHA ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง กรดซาลิไซลิก เป็น BHA ที่นิยมใช้ในผลิตภัณฑ์ดูแลผิวมากที่สุด ในธรรมชาติพบเป็นฮอร์โมนพืช มีหน้าที่เกี่ยวกับการต้านทานโรคของพืช กรดซาลิไซลิกและสารประกอบที่มีโครงสร้างใกล้เคียง เช่น สารซาลิซิน (salicin) และแอสไพริน (aspirin หรือ acetylsalicylic acid) มีฤทธิ์ต้านอักเสบได้ดี โดยเมื่อกว่า 1000 ปีก่อน ได้มีการสกัดสารซาลิซินจากเปลือกต้นหลิว (Salix alba) มาใช้บรรเทาอาการปวดและอักเสบ อย่างไรก็ตามเนื่องจากปริมาณของกรดซาลิไซลิกในพืชมีน้อยไม่คุ้มค่าต่อลงทุนรสกัด กรดซาลิไซลิกที่ใช้ด้านเวชสำอางจึงได้มาจากกระบวนการสังเคราะห์ทางเคมี

กรดซาลิไซลิกมีคุณสมบัติเด่น คือ การมีฤทธิ์ต้านการเจริญของจุลชีพ, ย่อยสลายเคราติน, และต้านการอักเสบ ผลิตภัณฑ์ที่มีซาลิไซลิกจึงเหมาะสำหรับดูแลผิวที่มีปัญหาสิวอุดตัน, ผิวอักเสบ, และเสื่อมสภาพของผิว โดยผลิตภัณฑ์สำหรับผิวหน้าที่วางขายทั่วไปมักมีความเข้มข้นของกรดซาลิไซลิกไม่เกิน 2-3% เนื่องจากการใช้กรดซาลิไซลิกที่ความเข้มข้นสูงมากเกินไปอาจทำให้ผิวไหม้ได้ นอกจากนั้นกรดซาลิไซลิกยังมีประสิทธิภาพในการกำจัดรังแค จึงนิยมใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมและหนังศีรษะเช่นกัน โดยมักมีความเข้มข้นในช่วง 3-12%

ที่มา:
Arif, T. (2015). Salicylic acid as a peeling agent: a comprehensive review. Clinical, cosmetic and investigational dermatology, 8, 455.

 

Visitors: 1,063,104