AHA คืออะไร?

AHA คืออะไร?


กรดผลไม้ หรือ AHA  มีที่มาจากคำว่า Alpha Hydroxy Acid ซึ่งเป็นชื่อของสารเคมีกลุ่มอัลฟ่าไฮดรอกซี่ มีฤทธิ์เป็นกรดอ่อน ๆ สามารถละลายได้ดีในน้ำ สารในกลุ่ม AHA มีคุณสมบัติช่วยผลัดเซลล์ผิวชั้นนอกสุด, ปรับสีผิวให้สม่ำเสมอ, ลดการอักเสบของผิว, กระตุ้นการสร้างคอลลาเจนในชั้นหนังแท้, มีผลให้ปริมาณกรดไฮยาลูโรนิก (hyaluronic acid) ใช้ชั้นหนังแท้เพิ่มขึ้น, และช่วยให้รูขุมขนและริ้วรอยบนใบหน้ามีขนาดเล็กลง



AHA เหมาะกับผู้ที่...


 1.   มีผิวแห้งถึงธรรมดา ที่เริ่มมีสัญญาณของความเสื่อมสภาพ
 2.  มีปัญหาสีผิวไม่สม่ำเสมอ หมองคล้ำ มีรอยด่าง หรือถูกแสงแดดทำร้าย
 3.  มีจุดด่างดำอันเนื่องมาจากอายุที่มากขึ้น (age spot), ฝ้า, และรอยแผลเป็น
 4.  มีรูขุมขนกว้าง และมีริ้วรอยขนาดเล็ก

 

เทคนิคการใช้ AHA อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสูงสุด

1. ทดสอบการแพ้และระคายเคืองก่อนการใช้จริง โดยทาผลิตภัณฑ์จำนวนเล็กน้อยที่ข้อพับ, ใต้ท้องแขน, หรือหลังใบหู ทิ้งไว้อย่างน้อย 24-48 ชั่วโมง จากนั้นสังเกตการเปลี่ยนแปลงของผิวว่ามีรอยแดง ผื่นคัน หรือรู้สึกแสบหรือไม่

2. AHA เหมาะกับทุกสภาพผิว แต่ในผู้ที่มีผิวบอบบางและแพ้ง่ายควรเริ่มใช้จากปริมาณน้อย ๆ ก่อน แล้วจึงค่อย ๆ เพิ่มปริมาณ หรือใช้สลับวันแล้วจึงค่อย ๆ เพิ่มความถี่ เพื่อป้องกับการระคายเคืองที่อาจเกิดขึ้นได้ในภายหลัง

3. ความเข้มข้นของ AHA ที่เหมาะสมในผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่ใช้เป็นประจำทุกวัน คือความเข้มข้นระหว่าง 10 – 15% ที่ระดับความเข้มข้นของ AHA ที่สูงขึ้น ควรลดความถี่ในการใช้และระยะเวลาที่สัมผัสผิวลง หรือควรอยู่ใต้การดูแลของผู้เชี่ยวชาญ

 

4. การใช้ AHA มีผลให้ผิวหน้าไวต่อแสงแดดมากขึ้น ดังนั้นจึงควรใช้คู่กับครีมกันแดดเพื่อป้องกันการไหม้และจุดด่างดำที่เกิดจากการได้รับรังสียูวี และควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับแสงโดยตรง

5.  ไม่ควรใช้พร้อมกับสารกลุ่มเรตินอล (retinol หรือ retinoids) เนื่องจากมีคุณสมบัติในการผลัดเซลล์ผิวเหมือน การใช้สารเร่งการผลัดเซลล์ผิวที่มากเกินไปอาจทำให้ผิวการระคายเคืองและเกิดอาการแพ้ได้ นอกจากนั้นการใช้ร่วมกันอาจไปลดประสิทธิภาพการทำงานของสารทั้งสองกลุ่มได้ เนื่องจากทั้งสองกลุ่มทำงานได้ดีที่สภาพความเป็นกรด-ด่างต่างกัน

 

แหล่งของ AHA ตามธรรมชาติ

1. AHA สามารถพบได้ทั่วไปในอาหารโดยเฉพาะผลไม้, จากกระบวนการหมักตามธรรมชาติของแบคทีเรียและเชื้อรา, หรือจากการสังเคราะห์ทางเคมี โดย AHA ทั้งหมดมีคุณสมบัติในการเร่งการผลัดเซลล์ผิว แต่อาจจะมีความแตกต่างด้านประสิทธิภาพและผลข้างเคียงของ AHA แต่ละชนิด โดย

2. กรดไกลโคลิก (glycolic acid)   พบได้ในอ้อย เป็น AHA ที่ได้รับความนิยมเนื่องจากมีขนาดโมเลกุลเล็กที่สุด จึงสามารถซึมสู่ผิวได้อย่างง่ายดาย จึงมีประสิทธิภาพในการทำงานสูง นอกจากนั้นยังมีฤทธิ์ต้านการเจริญของจุลชีพ ซึ่งช่วยป้องกันการเกิดสิวอักเสบได้อีกด้วย

3. กรดแลกติก (lactic acid)  พบในนมเปรี้ยวและโยเกิร์ตจากกระบวนการหมักน้ำตาลแลกโตสในนมโดยแบคทีเรีย กรดแลกติกช่วยทั้งเร่งการผลัดเซลล์ผิวและชะลอความเสื่อมสภาพของผิว

4. กรดมาลิก (malic acid) พบในแอปเปิ้ลการใช้กรดมาลิกให้มีประสิทธิภาพต้องใช้ร่วมกับกรด AHA อื่น โดยกรดมาลิกจะไปส่งเสริมให้กระบวนการผลัดเซลล์ผิวมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

5. กรดซิตริก (citric acid) พบในผลไม้กลุ่มส้มมีฤทธิ์ช่วยในการปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างของผิวให้เหมาะสม และช่วยทำให้ผิวมีความเรียบเนียนมากขึ้น การใช้กรดซิตริกในรูปแบบของเซรั่มหรือโทนเนอร์ แล้วตามด้วยการใช้มอยส์เจอร์ไรเซอร์และครีมกันแดดจะช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพการปกป้องแสงแดดในครีมกันแดดให้ดีมากยิ่งขึ้น

6. กรดทาร์ทาริก (tartaric acid) พบได้ในผลองุ่น มีคุณสมบัติช่วยลดการอักเสบจากสิวและการได้รับรังสียูวี

 

ที่มา

Tung, R. C., Bergfeld, W. F., Vidimos, A. T., & Remzi, B. K. (2000). α-Hydroxy acid-based cosmetic procedures. American journal of clinical dermatology, 1(2), 81-88.

AHA คืออะไร?

กรดผลไม้ หรือ AHA  มีที่มาจากคำว่า Alpha Hydroxy Acid ซึ่งเป็นชื่อของสารเคมีกลุ่มอัลฟ่าไฮดรอกซี่ มีฤทธิ์เป็นกรดอ่อน ๆ สามารถละลายได้ดีในน้ำ สารในกลุ่ม AHA มีคุณสมบัติช่วยผลัดเซลล์ผิวชั้นนอกสุด, ปรับสีผิวให้สม่ำเสมอ, ลดการอักเสบของผิว, กระตุ้นการสร้างคอลลาเจนในชั้นหนังแท้, มีผลให้ปริมาณกรดไฮยาลูโรนิก (hyaluronic acid) ใช้ชั้นหนังแท้เพิ่มขึ้น, และช่วยให้รูขุมขนและริ้วรอยบนใบหน้ามีขนาดเล็กลง

AHA เหมาะกับผู้ที่...

    มีผิวแห้งถึงธรรมดา ที่เริ่มมีสัญญาณของความเสื่อมสภาพ
    มีปัญหาสีผิวไม่สม่ำเสมอ หมองคล้ำ มีรอยด่าง หรือถูกแสงแดดทำร้าย
    มีจุดด่างดำอันเนื่องมาจากอายุที่มากขึ้น (age spot), ฝ้า, และรอยแผลเป็น
    มีรูขุมขนกว้าง และมีริ้วรอยขนาดเล็ก

เทคนิคการใช้ AHA อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสูงสุดทดสอบการแพ้และระคายเคืองก่อนการใช้จริง โดยทาผลิตภัณฑ์จำนวนเล็กน้อยที่ข้อพับ, ใต้ท้องแขน, หรือหลังใบหู ทิ้งไว้อย่างน้อย 24-48 ชั่วโมง จากนั้นสังเกตการเปลี่ยนแปลงของผิวว่ามีรอยแดง ผื่นคัน หรือรู้สึกแสบหรือไม่AHA เหมาะกับทุกสภาพผิว แต่ในผู้ที่มีผิวบอบบางและแพ้ง่ายควรเริ่มใช้จากปริมาณน้อย ๆ ก่อน แล้วจึงค่อย ๆ เพิ่มปริมาณ หรือใช้สลับวันแล้วจึงค่อย ๆ เพิ่มความถี่ เพื่อป้องกับการระคายเคืองที่อาจเกิดขึ้นได้ในภายหลัง ความเข้มข้นของ AHA ที่เหมาะสมในผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่ใช้เป็นประจำทุกวัน คือความเข้มข้นระหว่าง 10 – 15% ที่ระดับความเข้มข้นของ AHA ที่สูงขึ้น ควรลดความถี่ในการใช้และระยะเวลาที่สัมผัสผิวลง หรือควรอยู่ใต้การดูแลของผู้เชี่ยวชาญ การใช้ AHA มีผลให้ผิวหน้าไวต่อแสงแดดมากขึ้น ดังนั้นจึงควรใช้คู่กับครีมกันแดดเพื่อป้องกันการไหม้และจุดด่างดำที่เกิดจากการได้รับรังสียูวี และควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับแสงโดยตรง ไม่ควรใช้พร้อมกับสารกลุ่มเรตินอล (retinol หรือ retinoids) เนื่องจากมีคุณสมบัติในการผลัดเซลล์ผิวเหมือน การใช้สารเร่งการผลัดเซลล์ผิวที่มากเกินไปอาจทำให้ผิวการระคายเคืองและเกิดอาการแพ้ได้ นอกจากนั้นการใช้ร่วมกันอาจไปลดประสิทธิภาพการทำงานของสารทั้งสองกลุ่มได้ เนื่องจากทั้งสองกลุ่มทำงานได้ดีที่สภาพความเป็นกรด-ด่างต่างกันแหล่งของ AHA ตามธรรมชาติAHA สามารถพบได้ทั่วไปในอาหารโดยเฉพาะผลไม้, จากกระบวนการหมักตามธรรมชาติของแบคทีเรียและเชื้อรา, หรือจากการสังเคราะห์ทางเคมี โดย AHA ทั้งหมดมีคุณสมบัติในการเร่งการผลัดเซลล์ผิว แต่อาจจะมีความแตกต่างด้านประสิทธิภาพและผลข้างเคียงของ AHA แต่ละชนิด โดย1. กรดไกลโคลิก (glycolic acid)   พบได้ในอ้อย เป็น AHA ที่ได้รับความนิยมเนื่องจากมีขนาดโมเลกุลเล็กที่สุด จึงสามารถซึมสู่ผิวได้อย่างง่ายดาย จึงมีประสิทธิภาพในการทำงานสูง นอกจากนั้นยังมีฤทธิ์ต้านการเจริญของจุลชีพ ซึ่งช่วยป้องกันการเกิดสิวอักเสบได้อีกด้วย2. กรดแลกติก (lactic acid)  พบในนมเปรี้ยวและโยเกิร์ตจากกระบวนการหมักน้ำตาลแลกโตสในนมโดยแบคทีเรีย กรดแลกติกช่วยทั้งเร่งการผลัดเซลล์ผิวและชะลอความเสื่อมสภาพของผิว3. กรดมาลิก (malic acid) พบในแอปเปิ้ลการใช้กรดมาลิกให้มีประสิทธิภาพต้องใช้ร่วมกับกรด AHA อื่น โดยกรดมาลิกจะไปส่งเสริมให้กระบวนการผลัดเซลล์ผิวมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น  4  กรดซิตริก (citric acid) พบในผลไม้กลุ่มส้มมีฤทธิ์ช่วยในการปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างของผิวให้เหมาะสม และช่วยทำให้ผิวมีความเรียบเนียนมากขึ้น การใช้กรดซิตริกในรูปแบบของเซรั่มหรือโทนเนอร์ แล้วตามด้วยการใช้มอยส์เจอร์ไรเซอร์และครีมกันแดดจะช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพการปกป้องแสงแดดในครีมกันแดดให้ดีมากยิ่งขึ้น5. กรดทาร์ทาริก (tartaric acid) พบได้ในผลองุ่น มีคุณสมบัติช่วยลดการอักเสบจากสิวและการได้รับรังสียูวี ที่มาTung, R. C., Bergfeld, W. F., Vidimos, A. T., & Remzi, B. K. (2000). α-Hydroxy acid-based cosmetic procedures. American journal of clinical dermatology, 1(2), 81-88.

เพิ่มเพื่อน
Visitors: 1,071,027