สารสกัดรังไหม
-
ผลการทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพ
พบฤทธิ์ต้านออกซิเดชันจากการทดสอบสารสกัดรังไหมด้วยวิธี DPPH radical scavenging โดยสารสกัดรังไหมเข้มข้น 7.46 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตรสามารถยับยั้งอนุมูลอิสระได้ถึง 50% และไม่พบความเป็นพิษต่อเซลล์สัตว์จากผลการทดสอบด้วยเซลล์เพาะเลี้ยง (Vero cell)ที่ความเข้มข้นของสารสกัด 50 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร[1]
-
ผลจากงานศึกษาวิจัยอื่นๆ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์ระดับนานาชาติ
การศึกษาคุณสมบัติของโปรตีน Sericin ที่สกัดจากรังไหม Bombyx mori พบว่า โปรตีน Sericin เหมาะสมในการใช้เป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ฟื้นบำรุงและซ่อมแซมผิวหนัง[2] เนื่องจาก
ü มีประสิทธิภาพในการกำจัดอนุมูลอิสระสูง (Anti-oxidant) เนื่องจากมีกรดอะมิโนจำนวนมากเป็นองค์ประกอบ
ü มีความสามารถในการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ไทโรซิเนส (Tyrosinase) ซึ่งเป็นเอ็นไซม์ที่เร่งกระบวนการสร้างเม็ดสีเมลานิน (Melanin) ที่ชั้นหนังกำพร้า (Epidermis)
ü มีประสิทธิภาพในการรักษาความชุ่มชื้นของผิวหนังได้เทียบเท่ากับกรดไฮยารูโลนิค (Hyaluronic acid)
ü ช่วยกระตุ้นการเจริญของเซลล์ไฟโบรบลาสต์ (Fibroblast) ซึ่งเป็นเซลล์ทำหน้าที่สร้างความแข็งแรงให้กับผิวหนังโดยการสร้างเส้นใยโปรตีนที่สำคัญคือ คอลลาเจนและอิลาสติน ในชั้นหนังแท้ (Dermis)
ü กระตุ้นการทำงานของยีนที่เกี่ยวข้องกับการสร้างโปรตีนคอลลาเจนและกรดไฮยารูโลนิค
ü มีคุณสมบัติป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลต โดยเฉพาะช่วงความยาวคลื่น 223-300 นาโนเมตร ซึ่งครอบคลุมช่วงความยาวคลื่นของรังสียูวีบี
อ้างอิงจาก
[1] ผลการทดสอบความเป็นพิษต่อเซลล์ Cytotoxicity against Vero cell (African green monkey kidney fibroblast)
[2]Bombyx mori silk-based materials with implication in skin repair: Sericin versus regenerated silk fibroin ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Biomaterials Application ปี 2019